ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
FPL | TUE 09:00 - 10:00 | EDU4 208 | LECT |
FPL | TUE 10:00 - 12:00 | EDU4 208 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
SCN | TUE 09:00 - 10:00 | EDU3 508 | LECT |
SCN | TUE 10:00 - 12:00 | EDU3 508 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
PCP | TUE 09:00 - 10:00 | EDU3 509 | LECT |
PCP | TUE 10:00 - 12:00 | EDU3 509 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
PTL | TUE 09:00 - 10:00 | EDU3 609 | LECT |
PTL | TUE 10:00 - 12:00 | EDU3 609 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
SCW | TUE 09:00 - 10:00 | EDU3 714 | LECT |
SCW | TUE 10:00 - 12:00 | EDU3 714 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
DBC | TUE 13:00 - 14:00 | EDU4 208 | LECT |
DBC | TUE 14:00 - 16:00 | EDU4 208 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
UHK | TUE 13:00 - 14:00 | EDU4 209 | LECT |
UHK | TUE 14:00 - 16:00 | EDU4 209 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
DBC | TUE 13:00 - 14:00 | EDU4 208 | LECT |
DBC | TUE 14:00 - 16:00 | EDU4 208 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
RMW | TUE 13:00 - 14:00 | EDU4 209 | LECT |
RMW | TUE 14:00 - 16:00 | EDU4 209 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
DBC | MON 13:00 - 14:00 | EDU3 712 | LECT |
DBC | MON 14:00 - 16:00 | EDU3 712 | DISC |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
DBC | TUE 09:00 - 10:00 | EDU3 712 | LECT |
DBC | TUE 10:00 - 12:00 | EDU3 712 | DISC |
ผมลงทะเบียนวิชานี้ การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวิชาเจนเอด หมวดสังคมศาสตร์ จำนวน 3 หน่วยกิต และสะดวกวันอังคารตอนบ่าย ผมจึงเลือกตอนเรียนที่ 5 วันอังคาร (GENED-SO)
วิชานี้ลงทะเบียนได้อย่างสบายใจ และลงลายเซ็นวิชานี้อย่างราบรื่นเลย เพราะลงเรียนแล้วไม่เด้ง และได้เข้าเรียนตั้งแต่คาบเรียนแรก ซึ่งทำให้ผมได้หาเพื่อนใหม่ได้มากเลย ไม่เหงา และผมมีเพื่อนสนิทเพิ่มเพราะวิชานี้ด้วย และได้เจอเพื่อนใหม่อีกและค่อนข้างสนิทเลยเชียว เพราะการทำโปรเจคในวิชานี้ครับ ซึ่งทำให้ผมประทับใจวิชานี้มาก
อาจารย์ที่สอนมีอารมณ์ขัน มีประสบการณ์การสอนทั้งพัฒนศึกษาและการประสานงานทำงานเป็นทีม และท่านมีความใจกว้าง เปิดรับความคิดเห็นจากนิสิตทุกคน และเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนก็ไม่ได้ยากจนเกินไป ทำให้บรรยากาศการเรียนวิชานี้ดีมาก ๆ
เนื้อหาของวิชานี้ไม่หนักครับ สอนแค่สองเดือนก็เสร็จแล้ว สิงหาคมกับกันยายน เริ่มตั้งแต่ความหมายของการศึกษา (ในวิชานี้ไม่ได้สอนให้นิสิตต้องไปเป็นครูนะ แค่สามารถอธิบายสาระความเชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองให้คนฟังเข้าใจได้ก็พอแล้ว) ประเภทของการศึกษาทั้งสามประเภท (ในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัย) ต่อด้วยความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน วิวัฒนาการของ Sustainable Development Goals* การเป็นพลเมืองโลก การเป็น active citizens การส่งเสริมประชาธิปไตยที่เริ่มต้นจากในชั้นเรียน* การเป็นผู้ประกอบการกับการทำธุรกิจที่รักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน และการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในเดือนตุลาคม มีกิจกรรมสามกิจกรรมคือ สอบข้อเขียนปลายภาค 10 ตุลาคม 2566 (ถือว่าจัดการให้จบตั้งแต่เนิ่น ๆ เลย) ต่อมา 17 ตุลาคม สะสมคะแนนเก็บจากการฟังนักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นนำเสนอประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ห้องประชุม 101 อาคารครุศาสตร์ 3 ซึ่งห้องประชุมนี้สะอาดและโมเดิร์นมาก และสุดท้ายคือทัศนศึกษา ทางเลือกแรกคือ 28 ตุลาคม 2566 ไปทัศนศึกษาสองที่เลย คือ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีอวกาศที่ชลบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร แต่ใครที่ไม่สะดวกในวันนั้นไม่มีปัญหา เพราะมีทางเลือกที่สองครับ หลังจาก 28 ตุลาคมไม่นาน พวกเขาไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรครับ และปิดคอร์สในเดือนพฤศจิกายนด้วยการทบทวนเนื้อหา กิจกรรมการนำเสนอโปรเจคของกลุ่ม วันที่ 14 พฤศจิกายน กลุ่มละ 10-11 คน กลุ่มนึงใช้เวลานำเสนอ 30 นาที ปิดท้ายด้วยช่วงถามตอบไม่เกิน 5 นาที ในเทอมนั้น จำได้ว่ามีทั้งหมด 7 กลุ่ม สรุปแล้ววิชานี้ปิดคอร์สวันที่ 14 พฤศจิกายน
โปรเจคของกลุ่มเป็นโปรเจคที่เริ่มจากความสนใจของสมาชิกในกลุ่มแล้วนำมาเชื่อมโยงกับ Sustainable Development Goals โปรเจคต้องอธิบายว่า Sustainable Development Goals แต่ละข้อที่หยิบเอามาใช้คืออะไร อธิบายว่าโปรเจคที่เราทำตอบโจทย์ Sustainable Development Goals แต่ละข้อยังไงบ้าง นิสิตสบายใจได้ครับหากไม่รู้ว่าจะไปต่อยังไง เพราะอาจารย์มี session ให้นิสิตทุกกลุ่มเปิด Zoom ไปปรึกษาอาจารย์เรื่องการทำโปรเจค และรายงานความคืบหน้าให้อาจารย์ฟังไปในตัว แต่ละกลุ่มใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีครับ โปรเจคที่นำเสนอนี้นอกจากนำเสนอในชั้นเรียนแล้ว ยังต้องทำโปสเตอร์นำเสนอผลการทำโปรเจคด้วย
วิชานี้เก็บคะแนนจาก 1) การเข้าเรียน 2) การทำโปรเจคและทำโปรเตอร์รายงานโปรเจค (ไม่ต้องทำเป็นรูปเล่มนะ) 3) ทัศนศึกษาและเขียนรายงานลงใบงานหนึ่งหน้า 4) ฟังรายงานนานาชาติแล้วเขียนลงใบงานหนึ่งแผ่น 5) การบ้านสองชิ้น และ 6) สอบปลายภาค (ปรนัยและอัตนัย ปรนัยเป็นคำถามแบบสี่ตัวเลือก มี 20 ข้อ อัตนัยมีเติมคำลงช่องว่าง มีเขียนอธิบายคำศัพท์จากวิชานี้จำนวน 5 คำ คำละ 1-2 ประโยค และเขียนเรียงความสั้นจากการดูวิดิโอสารคดีสั้น ๆ หนึ่งหน้ากระดาษ) บอกได้เลยว่าวิชานี้การบ้านมีน้อย
เกรดตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ครับ ตัด A ที่ 80 เปอร์เซนต์ (นิสิตรหัส 66 เป็นต้นไป ตัด S ที่ 70 เปอร์เซนต์) ซึ่งสบายใจได้เลยเพราะคะแนนเก็บเก็บได้ง่ายและได้เยอะด้วย โอกาสได้ A จึงมีสูง ซึ่งผมโชคดีที่ได้ A วิชานี้
โดยสรุปแล้ว การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวิชาเจนเอด หมวดสังคมศาสตร์ เป็นวิชาที่อิงกับ Sustainable Development Goals ได้พาผมไปผจญภัยกับโลกของการศึกษา แล้วนั่งรถไฟไปชมเทคโนโลยี ชมสิ่งแวดล้อม ชมธุรกิจ ชมชาวต่างชาติ และเมคเฟรนด์จากการทำโปรเจคกับการทำกิจกรรมกลุ่มตอนท้ายคาบ ซึ่งผมประทับใจมาก ๆ ครับ
หมายเหตุ เนื้อหาที่มีเครื่องหมาย * ต่อท้ายคือเนื้อหาทืี่นิสิตจับกลุ่มทำกิจกรรมกลุ่มครับ ระดมความคิด เขียนมายด์แมป นำเสนอผลการระดมความคิด