แจ้งปัญหา
CU Get Reg

2301108 CALCULUS II

แคลคูลัส 2
CALCULUS II
คณะ
คณะวิทยาศาสตร์
ภาควิชา/กลุ่มวิชา/สาขาวิชา
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
รูปแบบรายวิชา
LECT
หน่วยกิต
3
สอบกลางภาค
04 มี.ค. 2568 13:00 - 16:00
สอบปลายภาค
30 เม.ย. 2568 08:30 - 11:30
เงื่อนไขรายวิชา
PRER 2301107
วิธีการวัดผล
Letter Grade
คำอธิบายรายวิชา (ภาษาไทย)
อุปนิสัยเชิงคณิตศาสตร์ ลำดับและอนุกรมของจำนวนจริง การกระจายแบบอนุกรมเทย์เลอร์และการประมาณค่าฟังก์ชันมูลฐาน การประมาณค่าอินทิกรัล เวกเตอร์เส้นตรง และระนาบในปริภูมิสามมิติ แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าเวกเตอร์ของหนึ่งตัวแปร แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงของสองตัวแปร บทนำสู่สมการเชิงเส้นอนุพันธ์และการประยุกต์
คำอธิบายรายวิชา (ภาษาอังกฤษ)
Mathematical induction; sequences and series of real numbers; Taylor series expansion and approximation of elementary functions; numerical integration; vectors, lines and planes in three dimensional space; calculus of vector valued functions of one variable; calculus of real valued functions of two variables; introduction to differential equations and their applications.
Group: ENGINEERING
Sec 1
124/150
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

SKT

WED 08:00 - 09:30

ENG1 302

LECT

SKT

FRI 09:30 - 11:00

ENG1 302

LECT

Sec 2
112/130
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

KKK

WED 08:00 - 09:30

ENG1 113

LECT

KKK

FRI 09:30 - 11:00

ENG1 113

LECT

Sec 3
147/160
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

PNS

MON 08:00 - 09:30

ENG1 302

LECT

PNS

WED 09:30 - 11:00

ENG1 302

LECT

Sec 4
105/145
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

KSA

MON 08:00 - 09:30

ENG3 415

LECT

KSA

WED 09:30 - 11:00

ENG3 415

LECT

Sec 5
101/145
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

RBK

MON 09:30 - 11:00

ENG3 415

LECT

RBK

FRI 08:00 - 09:30

ENG3 415

LECT

Sec 6
128/160
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

PNS, PCH

MON 09:30 - 11:00

ENG1 302

LECT

PNS, PCH

FRI 08:00 - 09:30

ENG1 302

LECT

Group: CHEMTECH
Sec 7
44/100
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

MKC, PTN

THU 10:00 - 12:00

MHMK 302

LECT

MKC, PTN

FRI 10:00 - 11:00

MHMK 308

LECT

Group: COMPSC
Sec 8
48/100
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

CUS

MON 13:00 - 14:00

MHMK 308

LECT

CUS

THU 10:00 - 12:00

MHMK M01

LECT

Group: RT
Sec 9
29/45
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

WLK, NRR

TUE 10:00 - 12:00

MHMK 206

LECT

WLK, NRR

FRI 10:00 - 11:00

MHMK 204

LECT

รีวิวของรายวิชานี้

2566 ภาคปลาย
3
จาก 5

เน้นทำโจทย์ดีกว่าครับ เหมือนการเรียนมปลาย ถ้าทำโจทย์ textbook ได้หมดก็ A แล้วครับ

0
0
2565 ภาคฤดูร้อน
3
จาก 5

เนื้อหา: ครึ่งแรกใช้ลิมิตเยอะ สูตรเยอะ จำสูตรได้แล้วก็ต้องใช้เป็นด้วย อ.แนะนำให้ทำมิดเทอมดีๆเพราะไฟนอลเนื้อหาเยอะกว่ามิดเทอมเลยจะยากกว่า แต่ส่วนตัวเราว่าครึ่งแรกยากกว่าครึ่งหลัง เพราะครึ่งหลังจะเป็นพวกฟังก์ชันสองตัวแปร ดิฟอินทิเกรต เนื้อหาเหมือนแคล 1 แค่มีหลายตัวแปรมากขึ้น ทำซ้อนหลายรอบมากขึ้นแต่เนื้อหาเหมือนที่เคยผ่านมาแล้ว มีแค่บทหลังที่ต้องจำสูตรเพิ่มมาอีกนิดหน่อย คะแนนมิดเทอมเราแย่มากๆ อาจารย์แนะนำให้คนที่มิดเทอมต่ำกว่า 15/50 ถอนเพราะอาจจะทำไฟนอลไม่ไหว แต่เราสู้ต่อ สรุปผ่านได้เพราะไฟนอลเลย

การสอน: onsite 100% ไม่มีคลิปให้ อ.เขียนในกระดาษแล้วถ่ายขึ้นจอ พอจบคาบก็ให้เด็กมาถ่ายเลคเชอร์แปะในไลน์กลุ่ม ไม่มีเช็คชื่อ สำคัญที่การฝึกทำโจทย์ เข้าทุกคาบแต่ไม่ฝึกทำโจทย์ก็ไม่ช่วยอะไร ._.

การเก็บคะแนน: มิดเทอม 50% ไฟนอล 50% เกณฑ์การตัดเกรดเทอมนี้อาจารย์ตัด F ที่ 29 (อ.พยายามช่วยสุดๆแล้ว)

0
0
2564 ภาคปลาย
4
จาก 5

ความยากโดยรวม : 8/10

เนื้อหา/การสอน : เนื้อหา 6 บท อาจารย์ 6 คน แบ่งกันสอนคนละบท ใครสอนบทไหนออกข้อสอบบทนั้น ทั้ง Quiz , Midterm และ Final ทุกบทเรียนคลิปที่อ.อัดไว้บน Echo360

การเก็บคะแนน : ควิซ 6 ครั้ง ครั้งละ 5 คะแนน , Midterm เนื้อหา 3 บทแรก 35 คะแนน และ Final 3 บทหลัง 35 คะแนน

รีวิวเนื้อหาและอาจารย์

บทที่ 1 ลำดับและอนุกรม (อ.พิเชษฐ์) : บทนี้เนื้อหาโดยรวมจะเน้นการตรวจสอบการลู่เข้าของลำดับอนันต์หรืออนุกรมอนันต์ ซึ่งจะแตกต่างจากม.ปลายพอสมควร(ที่เน้นหาลิมิตหาผลบวกอนุกรมไปเลย) ซึ่งการตรวจสอบทำได้หลายวิธี ทำให้บทนี้ค่อนข้างยากในช่วงหลัง เพราะเราจะงงว่าเจออนุกรมแบบนี้เช็ควิธีไหนถึงจะสรุปได้เลย ถ้าเลือกถูกวิธีจะเช็คทีเดียวออก แต่ถ้าลองทำวิธีนี้แล้วไม่ออกจะเสียเวลามากเหมือนเราต้องทำข้อนี้ใหม่ตั้งแต่ต้น แต่ถ้าทำโจทย์บ่อยๆจะเริ่มตับทางได้ไม่ยาก แล้วอาจารย์ท่านนี้ก็ค่อนข้างใจดี ออกข้อสอบไม่ยากมาก (❗ความยากข้อสอบ : 2.5/5)

บทที่ 2 อนุกรมกำลัง (อ.ทรงเกียรติ) : บทนี้เอาจริงเนื้อหาถ้าดูโดยรวมมันจะเน้นทฤษฎีเยอะมาก โดยเฉพาะตรงเศษเหลือ (ซึ่งเหมือนอาจารย์จะเน้นสอนตรงนี้มากไปหน่อย =_=" ทำให้บทนี้มันดูยากมากๆ) ทำให้อาจจะดูยากแต่จริง ๆ แล้ว หัวใจสำคัญของบทนี้มีนิดเดียวคือหาอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชันได้ จัดรูปเป็นก็เป็นพอ เพราะบทนี้ถ้าจะเอาไปใช้ต่อจริงๆในอนาคตวิชาอื่นๆก็จะเน้นส่วนนี้แหละ ส่วนข้อสอบ อาจารย์ออกความยากกลางๆแต่จำนวนข้อเยอะมากๆๆๆ มีหลายข้อแถมข้อนึงอาจถามหลายคำถาม ทำให้ส่วนใหญ่ทำไม่ทัน ทั้ง Quiz และ Midterm (❗ความยากข้อสอบ : 4/5)

บทที่ 3 : ปริภูมิ 3 มิติ (อ.ไพศาล) : บทนี้จะคล้ายม.ปลายอยู่บ้างแต่มีสูตรและเนื้อหาเพิ่มมาเยอะพอสมควร อารมณ์เหมือนเรขาคณิตวิเคราะห์ตอนม.ปลาย แต่อัพเกรดเป็น 3 มิติ ถ้าเข้าใจสูตร มองรูปออก วาดภาพในหัวได้ หรือเดิมแม่นเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์อยู่แล้ว จะค่อนข้างชิว แต่จะเน้นจำสูตรแล้วทำโจทย์เลยก็ได้ แล้วก็ท้ายๆบทจะมีเนื้อหาเรื่องฟังก์ชันค่าเวกเตอร์ ถ้าใครจะไปต่อภาคที่เรียน CAL III (เช่น ไฟฟ้า , โยธา เป็นต้น) ควรจะเน้นตรงนี้เพราะเอาไปใช้ต่อเยอะ โดยรวมเนื้อหาไม่ยากเท่าบทก่อนหน้า อ.ไพศาลสอนค่อนข้างดีส่วนข้อสอบถ้าใครผ่าน CAL I มาแล้วคงจะรู้ดีว่าอ.ไพศาล จะออกข้อสอบยากมาก ๆ ซึ่งสำหรับบทนี้ อ.ไพศาลก็ยังคงเป็นอ.ไพศาล ออกยากสุด ๆ สูตรมันไม่ยาก แต่ฟังก์ชันที่จะเอามาใช้กับสูตรมันต้องดิฟกับอินทิเกรตถึกมาก เทียบกับเวลาที่ให้มา แถมเลขหลายข้อก็ไม่ลงตัว ตอน Quiz อ.ออกไม่ยาก แต่ Midterm เหมือนถอนทุนคืน 555 (❗❗ความยากข้อสอบ 5/5)

บทที่ 4 อนุพันธ์ของฟังก์ชันหลายตัวแปร (อ.สำรวม) : บทนี้เนื้อหาค่อนข้างใหม่ แต่ไม่ยากมาก เพราะยังเป็นเพียงเบื้องต้น (เนื้อหาเพิ่มเติมจะยกไป CAL III) อารมณ์เหมือนเรียนเรื่องอนุพันธ์อีกรอบ แต่จะมีหลักการเพิ่มขึ้น แบบ ดิฟรอบนี้ต้องคำนึงว่าดิฟเทียบตัวแปรอะไร โดยเฉพาะกฎลูกโซ่ที่ค่อนข้างยากพอสมควร แล้วก็ประยุกต์นิดหน่อย อาจารย์สอนค่อนข้างช้า แต่เทคนิคตอนเรื่องกฎลูกโซ่ของอาจารย์ทำให้เข้าใจค่อนข้างง่าย ที่สำคัญคือ อาจารย์ออกข้อสอบค่อนข้างง่าย บางข้ออาจจะประยุกต์นิดหน่อยแต่ก็ถือว่าง่ายอยู่ดี ถ้าทำแบบฝึกหัดทุกข้อบอกเลยครับว่าพาร์ทของอาจารย์เก็บเต็มได้เลย (❗ความยากข้อสอบ 1.5/5)

บทที่ 5 อินทิกรัลของฟังก์ชันสองตัวแปร (อ.พงษ์เดช) : เป็นบทที่ต่อยอดมาจากบทที่แล้ว มีดิฟก็ต้องก็ต้องมีอินทิเกรต เนื้อหามีไม่เยอะมาก ส่วนใหญ่จะเน้นทำโจทย์เลย (เหมือนบท 4 เนื้อหายังเป็นเพียงเบื้องต้น มีเนื้อหาต่อถ้าเรียน CAL III) โจทย์เลยยังไม่ยากมาก อาจจะยากตรงเปลี่ยนลำดับอินทิเกรต ถ้าโดเมนไม่ใช่สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะต้องวาดกราฟ ถ้าวาดได้เร็วก็จะทำได้เร็วและง่าย อาจารย์สอนค่อนข้างช้และโมโนโทน 555 เร่งสปีดไปดูตรงตัวอย่างที่อาจารย์โชว์ทำโจทย์แล้วลุยแบบฝึกหัดเลยก็ได้ ส่วนเรื่องข้อสอบ อาจารย์ออกข้อสอบความยากกลาง ๆ เป็นไปตามที่เรียน ถ้าทำแบบฝึกหัด ทบทวนเนื้อจนเข้าใจจริงและทำโจทย์คล่องก็เก็บคะแนนได้ไม่ยาก (❗ความยากข้อสอบ 3/5)

บทที่ 6 สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น (อ.บุญฤทธิ์) : บทนี้ค่อนข้างใหม่และเข้าใจยากพอสมควร แถมเป็นบทที่ต้องอาศัยไหวพริบในการสังเกตุุรูปแบบสมการแล้วเลือกวิธีแก้ ถ้ามองไม่ออกก็จะไปต่อไม่ถูกเลย แต่ถ้าใครเข้าใจแล้ว บอกเลยว่าบทนี้ทำแบบฝึกค่อนข้างมันส์มาก เนื้อหามีไม่เยอะ เน้นทำโจทย์เยอะๆๆๆ (บทนี้สำคัญมากสำหรับคนที่จะเรียนต่อ ภาคไฟฟ้า เพราะต้องเอาไปใช้ต่อในวิชา EEMATH I และวิชาภาคตัวอื่นๆ ถ้าคล่องบทนี้ จะลดภาระวิชาดังกล่าวลงไปได้เยอะพอสมควร) อาจารย์สอนเรื่อย ๆ ไปตามเนื้อหา อาจารย์ ค่อนข้างเน้นพิสูจน์วิธีแก้สมการ มียกตัวอย่างโจทย์นิดหน่อย จะข้ามไปดูวิธีแก้โจทย์เลยก็ได้ อาจารย์ออกข้อสอบ ค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น ที่มัันยากเพราะตัวเนื้อหามากกว่า ถ้าทำแบบฝึกหัดได้ทุกข้อ ข้อสอบก็ไม่ยากมากครับ ทั้ง Quiz และ Final (❗ความยากข้อสอบ 3/5)

สุดท้ายนี้สิ่งที่อยากจะฝากไว้ก็มีแค่ พยายามเรียนตามให้ทันตลอด อย่าดองเนื้อหา ไม่งั้นไฟจะลนโดยไม่รู้ตัวแบบพี่ 555 ทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ ทั้งที่อาจารย์ให้มา จะทำในหนังสือของ อ.ดำรงค์ เพิ่มเติมได้ก็ดี สู้ ๆ ครับ

0
0
2565 ภาคต้น
3
จาก 5

sec ไหน ก็เหมือนกัน อาจารย์จะสอนคนละบท บทของอ.ไพศาลจะยากเป็นพิเศษ

0
0
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Open Source on
Privacy PolicyPrivacy Preferences