ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
PCP | TUE 13:00 - 16:00 | BRK 412 | LECT |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
PCP | TUE 13:00 - 16:00 | MCS 60113 | LECT |
ผู้สอน | วันเวลาเรียน | ห้องเรียน | รูปแบบ |
---|---|---|---|
PCP | TUE 13:00 - 16:00 | BRK 412 | LECT |
ถ้าใครชอบวิชาสายปรัชญา สายคิด ตั้งคำถามอะไรรอบ ๆ ตัว ก็จะชอบวิชานี้
วิชานี้ถือเป็น a must สำหรับใครที่นึกอยากจะเข้าวงการวิพากษ์สังคม เพราะจะทำให้สามารถเข้าใจภาษาทางปรัชญา ภาษาแห่งการวิพากษ์และการต่อสู้ทางความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานเขียนของฝ่ายซ้ายที่มีการผลิตออกมาเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน
อาจารย์ผู้สอน อ.ปิยฤดี ไชยพร แกเป็นคนที่สอนได้เข้าใจ แต่ถึงแม้จะฟังไม่เข้าใจแต่ถ้าพยายามอ่าน text ที่แกให้ก่อนหน้า (ซึ่งจะมีนักปรัชญาร่วมสมัยสำคัญ ๆ หลายคน เช่น Peter Singer, Waheed Hussain, T.M. Scanlon) ก็น่าจะพยายามเข้าใจได้ เนื้อหาวิชาไม่ได้แปลกใหม่อะไร สามารถค้นหาได้ตามอินเตอร์เน็ต แต่เป็นการปูพื้นฐานในการเข้าสู่วงการปรัชญาได้อย่างดีเยี่ยม
สำหรับนิสิตนอกคณะ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางปรัชญามาก ถึงแม้จะฟังที่สอนรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างก็ตาม (อาจมีบางคนที่เจอเพื่อนในคาบถามคำถามล้ำ ๆ หน่อย) ทั้งนี้ก็เพราะอาจารย์ท่านเข้าใจนิสิตนอกคณะเป็นอย่างดี ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องมีความรอบรู้เท่ากับนิสิตอักษรฯ แต่อาจารย์ก็เต็มใจจะสอนไม่ได้ดูถูกนิสิตนอกคณะแต่อย่างใด
การสอบมิดเทอม (40 คะแนน) เข้าใจว่าเป็น take home (ผู้เขียนเรียนตอนสอนออนไลน์) ซึ่งจะให้โจทย์เกี่ยวกับปรัชญามา 2-3 ข้อ ให้เลือกทำ คะแนนที่ได้ก็ไม่ยากเย็นจนเกินไป ส่วนปลายภาคเข้าใจว่าเป็น take home (40 คะแนน) คือการเขียนชิ้นงานขึ้นมาหนึ่งชิ้นโดยพูดถึงประเด็นอะไรก็ได้โดยวิเคราะห์เป็นทางปรัชญา เขียนแนว ๆ วิเคราะห์อ้างเหตุผล ใครที่เคยทำพวกโต้วาทีหรือเคยเขียนอ้างเหตุผลทางปรัชญาจะได้เปรียบ
ส่วนอีก 20 คะแนน เป็นคะแนนการทำ quiz ในคาบ น่าจะได้ไม่ยากมากนัก รวม 100 คะแนน
วิชานี้ขออาจารย์ไปเรียนได้ อาจารย์ไม่มีปัญหา แต่ต้องตั้งใจเรียน เพราะคนน้อยครับ