แจ้งปัญหา
CU Get Reg

2200330 TIPITAKA/LIFE

พระไตรปิฎกกับวิถีชีวิต
TIPITAKA AND WAYS OF LIFE
คณะ
คณะอักษรศาสตร์
ภาควิชา/กลุ่มวิชา/สาขาวิชา
ไม่สังกัดภาควิชา/เทียบเท่า
รูปแบบรายวิชา
LECT
หน่วยกิต
3
สอบกลางภาค
TBA
สอบปลายภาค
TBA
เงื่อนไขรายวิชา
-
วิธีการวัดผล
Letter Grade
คำอธิบายรายวิชา (ภาษาไทย)
ความสำคัญของพระไตรปิฎกที่มีต่อชีวิตและสังคม โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นมรดกธรรมอันเป็นรากฐานแห่งสันติสุขของชีวิตและสังคมทุกกาลสมัย วัฒนธรรมพระไตรปิฎกในสังคมไทย พระไตรปิฎกกับการปฏิบัติในชีวิตและสังคมปัจจุบัน
Group: GENED-HU
Sec 2
หมวดมนุษย์
6/15
ผู้สอนวันเวลาเรียนห้องเรียนรูปแบบ

SNC

WED 13:00 - 16:00

MCS 601/2

LECT

รีวิวของรายวิชานี้

2566 ภาคปลาย
2.5
จาก 5

ภาระงาน: มีแทบทุกอาทิตย์ส่วนใหญ่เป็นงานเขียนโดยปกติแล้วต้องเขียน 2 หน้าเป็นต้นไปถึงจะได้ความ เทอมนี้มี 7 งาน ปั่นหัวหมุน ซึ่งงานเป็นงานที่เชื่อมโยงวิชาพระไตรปิฎกกับชีวิตเราถ้าเกิดใครไม่ถนัดเขียนเชื่อมโยงบรรยายแนะนำให้ให้ผ่าน มีวิทยากร 1-2 ครั้ง อ่านหนังสือธรรมะ 1 เล่มแล้วนำเสนอเราสามารถเสนอวันกำหนดส่งงานอาจารย์ได้หรือเลื่อนได้แค่บอก

คะแนน: ไม่มีแนะนำรายวิชา ว่าแต่ละงานกี่คะแนนสอบกี่คะแนน วิธีการตรวจงานจะตรวจแบบเทียบองค์รวมกับคนทั้งเซค ส่วนตัวได้คะแนนค่อนข้างน้อยแต่อาจารย์ก็ช่วย สามารถไปคุยกับอาจารย์ได้อาจารย์จะให้งานทำเพิ่ม 

สอบ: มีสอบกลางภาคและปลายภาค เป็นข้อเขียนทั้งหมด บางทีอาจารย์จะให้แนวข้อสอบมาอะไรที่บอกก็แนะนำว่าให้อ่านจำให้ได้ 

อาจารย์: วิชานี้เรียนกับอาจารย์แม่ชี อาจารย์ค่อนข้างเป็นคนเร็ว พูดเร็ว คิดเร็ว ทำเร็ว พูดตรง ค่อนข้างดุ เสียงดัง แกจะมีสไตล์การสอน ให้ทุกคนในห้องพูด ทุกคนต้องตอบสิ่งที่เรียนไปได้ บางทีแกก็โมโหถ้าเราตอบไม่ถูกหรือตอบไม่ตรงประเด็น มีใจดีบ้างตลกบ้างบางครั้ง

อยากบอก: ถ้าหากจำเป็นต้องเรียนจริงๆ แนะนำให้มาเรียนกับเพื่อนจะได้ช่วยกันแบกวิชาเรียนและจิตใจ เป็นวิชาที่เปิดรับน้อยและคนเรียนจบจริงๆก็น้อยด้วยเพราะถอนกันเยอะ อาจารย์ค่อนข้างจะมีแนวคิดเป็นของตัวเอง บางทีแนวคิดเรากับอาจารย์ก็อาจจะไม่ตรงกันส่วนตัวก็พยายามนิ่ง ๆ ไว้เห็นด้วยไปก่อน ถ้าเกิดไม่ได้มาเรียนด้วยความชอบในศาสนา ในการเขียน ในการพูด ก็ไม่ค่อยแนะนำ หรือถ้าหากจำเป็นต้องเรียนก็อยากให้เปรียบเทียบพิจารณากับวิชาอื่นด้วย ส่วนตัวเหนื่อยและท้อกับภาระงานเยอะ เขียนเยอะ อาจารย์ที่ค่อนข้างดุ เพื่อนในเซคน้อย 

ข้อดี: ค่อนข้างปล่อยเร็ว ใครอยากฝึกเรื่องการเขียนการต่อยอดความคิดการบรรยายเชื่อมโยงบทความกับศาสนาก็แนะนำ ใครจะเรียนก็สู้ๆค่ะได้พัฒนาความสามารถของตัวเองหลายอย่างเลย🫰

0
0
2561 ภาคต้น
5
จาก 5

วิชานี้เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อริยสัจ 4 ฯลฯ ส่วนตัวเรียนวิชานี้เมื่อเทอมต้น ปี61 ก่อนที่โควิดจะลง ดังนั้น ข้อมูลบางส่วนในรีวิวนี้อาจจะไม่ตรงกับข้อมูลปัจจุบัน แต่คิดว่าสามารถนำไปเป็นแนวทางการพิจาณาการเรียนวิชานี้ได้ เวลาเรียนก็เรียนทุกวันพุธบ่าย บ่ายโมงถึงสี่โมง แต่เอาจริงๆ ส่วนใหญ่เรียนถึงบ่ายสาม จากนั้นเราจะต้องทำงานส่งอาจารย์ก่อนกลับบ้านทุกคาบ งานที่ทำจะเป็นงานเขียนประมาณ 1-2 หน้า แต่ถ้าเด็กทำกันไม่ทันจริงๆ อาจารย์จะมอบหมายให้เราส่งงานทางอีเมล์ผ่านพี่ผู้ช่วยของอาจารย์ ท่านจะกำหนดวันส่งให้เราอีกที อาจารย์ที่สอนเป็นอาจารย์แม่ชี สถานที่เรียน ตอนแรกเราเรียนที่ตึก MCS ของอักษรฯก่อนแล้วพอช่วงใกล้สอบปลายภาค เราได้มีโอกาสไปเรียนที่หอพระไตรปิฏกในเทวาลัย ข้างในหอสวยมาก ส่วนการสอบจะเป็นการสอบนอกตาราง คือสอบในคาบที่เรียนนั่นแหละ แบ่งสอบประมาณ 3 รอบถ้าจำไม่ผิด แต่ละรอบจะมีคำถามมาให้เราเขียนตอบโดยใช้หลักธรรมที่อาจารย์แม่ชีสอนเราไปในแต่ละคาบ บอกก่อนว่าแต่ละรุ่นจะเรียนหลักธรรมต่างกัน แล้วแต่สถานการณ์ว่าอาจารย์แม่ชีจะหยิบยกหลักธรรมอันไหนในพระไตรปิฏกมาสอนเรา เรียนเสร็จก็เอามาเขียนส่งในคาบและตอบในข้อสอบ ส่วนงานอื่นๆก็มีทั้งจับกลุ่ม จับคู่กันบ้างนิดหน่อยเป็นกิจกรรมเล็กน้อยในห้องเรียน แต่เก็บคะแนนคือเก็บเดี่ยวล้วน และจะมีวิทยากรจากมอมหิดลมาบรรยายให้เราฟังด้วย 1 คาบ สนุกมาก ถ้าถามความยากของวิชานี้ เราว่าถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบในหลักธรรมพุทธอยู่แล้วก็อาจจะไม่ยากมาก เพราะตัวหลักธรรมเองไม่ได้ลงลึกมาก แต่คะแนนจะขึ้นอยู่กับว่าเรานำสิ่งที่เรียนมาตอบคำถามของอาจารย์ท่านดีไหม แต่ไม่แนะนำนะถ้าใครที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัดเขียนตอบข้อสอบยาวๆ เพราะเวลาสอบจริงจะต้องเขียนล้วนๆ ตอบเป็นหน้าๆเลย และห้ามเปิดอะไรดูด้วยทั้งสิ้น555 ฉะนั้น ถ้าใครจะลงวิชานี้อาจจะต้องมีใจรักหรือสนใจในหลักธรรมหรือพระไตรปิฏกหน่อย การลงทะเบียนถือว่าลงติดง่ายมากๆ ถ้าใครมุ่งมั่นว่าจะเรียนคัมภีร์พระไตรปิฏกให้ได้ อย่ารอช้าให้มาลงเลยเพราะติดชัวร์ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันรูปแบบการเรียนและการสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลง ยังไงก็ขอให้รุ่นต่อๆไปเช็คข้อมูลดูอีกทีนะ.

2
0
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Open Source on
Privacy PolicyPrivacy Preferences